วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การส่งเสริมการขาย

http://www.rd.go.th/publish/40590.0.html
เลขที่หนังสือ: กค 0702/1247
วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฯ ได้ให้ส่วนลดแก่ลูกค้า โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้
          1. บริษัทฯ ได้ขายรถยนต์ ให้กับลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เมื่อลูกค้าได้จองรถยนต์และตกลงราคาซื้อขาย กับบริษัทฯ บริษัทฯ จะจัดทำใบจองรถยนต์ให้แก่ลูกค้าโดยจะระบุชื่อ ที่อยู่ของลูกค้า ประเภทรถยนต์ รุ่น สี ราคาซื้อขาย อุปกรณ์ ของแถม ส่วนลด และเงื่อนไขในการชำระเงิน เช่น ซื้อเงินสดหรือจัดไฟแนนซ์ และลูกค้าต้องชำระเงินจองไว้กับบริษัทฯ ไว้ล่วงหน้า เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท
          2. หากลูกค้าที่มีความประสงค์จะจัดไฟแนนซ์ บริษัทฯ จะส่งชื่อ ที่อยู่และประวัติทางการเงินของลูกค้าพร้อมทั้งราคาซื้อขาย รถยนต์ และจำนวนเงินที่ต้องการจัดไฟแนนซ์ไปให้บริษัทไฟแนนซ์พิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับการอนุมัติจากบริษัทไฟแนนซ์แล้ว บริษัทฯ จะแจ้งให้ลูกค้าทราบพร้อมทั้งนัดให้ลูกค้ามารับรถยนต์และชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือให้กับบริษัทฯ เช่น รถยนต์ราคา 560,000 บาท ลูกค้าต้องชำระเงินดาวน์ 10 % ของราคารถยนต์เท่ากับ 56,000 บาท ลูกค้าจัดไฟแนนซ์ (560,000 - 56,000) = 504,000 บาท ในวันจองลูกค้าชำระแล้ว 5,000 บาท คงเหลือเงินดาว์ 56,000 - 5,000 = 51,000 บาท ลูกค้าชำระเงินดาว์ เพียง 41,000 บาท (แต่บริษัทฯ จะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ลูกค้าเต็มจำนวนเงินดาวน์เท่ากับ 56,000 บาท) ส่วนที่เหลืออีก 10,000 บาท ของเงินดาว์ บริษัทฯ จะจัดเป็นส่วนลดให้แก่ลูกค้า โดยให้ลูกค้าเซ็นต์รับเอกสารใบรับส่วนลดเงินดาวน์ และส่วนลด ที่เป็นส่วนหนึ่งของเงินดาวน์ดังกล่าว ลูกค้าไม่ต้องนำไปให้กับบริษัทไฟแนนซ์ บริษัทฯ ขอทราบว่า เงินส่วนลด จำนวน 10,000 บาท ที่บริษัทฯ ลดให้แก่ลูกค้าที่มาซื้อรถยนต์กับบริษัทฯ นั้น เข้าลักษณะเป็นเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจาก การส่งเสริมการขายหรือไม่ และเมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย          การให้ส่วนลดดังกล่าว หากบริษัทฯ ได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าไปใช้ใน การประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ส่วนลดเงินดาวน์ที่บริษัทฯ จ่ายให้ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็น รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้: 72/36408
---------------------------------------------------------





วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้า

http://www.rd.go.th/publish/39899.0.html
เลขที่หนังสือ: กค 0702/8523
วันที่: 11 ธันวาคม 2551
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท อ. ประกอบธุรกิจเคเบิ้ลทีวี ได้ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าบนเสาไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตามระยะทางของการพาดสายเคเบิ้ลผ่าน จำนวนหลายจุดและหลายพื้นที่ เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียกเก็บค่าไฟฟ้ามายังบริษัทฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีระบุที่อยู่ตามสถานที่ที่มิเตอร์ไฟฟ้าติดตั้ง เนื่องจากเป็นระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัทฯ ได้หารือว่า บริษัทฯ สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีดังกล่าว มาถือเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกให้แก่บริษัทฯ โดยระบุชื่อของบริษัทฯ แต่ที่อยู่ในใบกำกับภาษีเป็นที่อยู่ตามการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าบนเสาไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เนื่องจากสถานที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของสถานประกอบการซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ
เลขตู้: 71/36257
--------------------------------------------------------
http://www.rd.go.th/publish/41084.0.html
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./3602
วันที่: 13 พฤษภาคม 2552
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าของสำนักงานชั่วคราวในโครงการจัดสรรที่ดิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 85/7 และมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ประกอบกิจการจัดสรรที่ดินเพื่อขาย จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 เนื่องจากมีรายได้จากค่าบริการส่วนกลาง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขอเพิ่มสำนักงานสาขา 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโครงการพัฒนา จัดสรรที่ดินเพื่อขาย
          เนื่องจากพื้นที่ของโครงการบางส่วนยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และบางส่วนขายไปแล้ว บริษัทฯ จึงยังต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางรวมทั้งค่าไฟฟ้าทั้งหมดก่อน แล้วเรียกเก็บจากผู้ใช้ ที่อยู่ในโครงการที่ขายไปแล้ว
          บริษัทฯ มีมิเตอร์ไฟฟ้า 3 แห่ง อยู่ภายในโครงการก่อสร้างเพื่อใช้ร่วมกัน มิเตอร์ไฟฟ้าดังกล่าวเป็นชื่อของบริษัทฯ ทั้งหมด แต่ที่อยู่ของสำนักงานซึ่งระบุในใบกำกับภาษีของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัตหีบ (กิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ) ผู้ให้บริการ แตกต่างกัน 3 ฉบับ ดังนี้ คือ
          1. เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ภายในโครงการก่อสร้าง บริษัทฯ สร้างสำนักงาน ชั่วคราวขึ้นเพื่อรอการขายและใช้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานก่อสร้างระหว่างรอการขาย
          2. เลขที่ 2 หมู่ที่ 6 ซอยเทศบาล 12 ถนนสุขุมวิท กม.166 ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20250 ซึ่งเป็น ที่ตั้งสำนักงานสาขาที่จดทะเบียน
          3. หมู่ที่ 6 ซอยเทศบาล 12 ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นมิเตอร์ชั่วคราวระหว่างก่อสร้างที่ตั้งอยู่ที่ดิน ภายในโครงการก่อสร้าง บริษัทฯ สร้างสำนักงานชั่วคราวขึ้นเพื่อรอการขายและใช้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานก่อสร้างระหว่าง รอการขาย
          จำนวนค่าไฟฟ้าที่ทางบริษัทฯ เรียกเก็บจากผู้ใช้ มาจากมิเตอร์ไฟฟ้าที่บริษัทฯ ติดตั้งในที่ดินของบริษัทฯ เพื่อใช้ร่วมกันใน โครงการคือ ไฟถนนในโครงการ และไฟเข้าบ้านแต่ละหลังในโครงการ บริษัทฯ จึงได้บันทึกใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของ สำนักงานใหญ่ และบริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บค่าบริการส่วนกลางและนำส่งภาษีขายต่อกรมสรรพากรในนามของ สำนักงานใหญ่
          บริษัทฯ จึงหารือว่า บริษัทฯ สามารถใช้ใบกำกับภาษีที่ระบุชื่อของบริษัทฯ และที่อยู่ของสถานประกอบการสาขาและ สำนักงานชั่วคราวตามที่กิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ ออกให้เป็น ภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีบริษัทฯ ได้จดทะเบียนสำนักงานสาขา ย่อมถือได้ว่าสาขาเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับสำนักงานใหญ่ สาขาจึงเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่เริ่มเปิดสาขา แต่บริษัทฯ ต้องแจ้งการเปิดสาขาเพิ่มเติมตามมาตรา 85/7 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่บริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีที่กิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ ออกให้นั้น ระบุชื่อและที่อยู่ของ สำนักงานสาขา ก็ให้ถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานสาขาที่ได้รับใบกำกับภาษี และสามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อสำหรับสำนักงาน สาขานั้น
          2. กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีที่กิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ ออกให้ โดยระบุชื่อของบริษัทฯ แต่ที่อยู่ในใบกำกับภาษี เป็นที่อยู่ของสำนักงานชั่วคราวที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าที่บริษัทฯ ได้ขอติดตั้งในที่ดินของบริษัทฯ เพื่อใช้ร่วมกันในโครงการก่อสร้าง เนื่องจากสำนักงานชั่วคราว ที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ตามมาตรา 77/1(20) แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของสถานประกอบการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ
เลขตู้: 72/36604
----------------------------------------------------------------------
http://www.rd.go.th/publish/24069.0.html
เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.31981
วันที่: 16 สิงหาคม 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการลดสาขาของผู้ประกอบการ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(20)
ข้อหารือ: บริษัท A. จำกัด กรณีบริษัทฯ ซึ่งดำเนินธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้บริการด้านยาม
รักษาความปลอดภัยและศูนย์ธุรกิจในโครงการ A. ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีสถานประกอบการตั้งอยู่ ดังนี้
1. สำนักงานใหญ่ ถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
2. สาขาที่ 1 สำนักงานถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัด
ปทุมธานี ซึ่งสาขาที่ 1 เป็นสำนักงานประจำโครงการของบริษัทฯ ที่มีพนักงานของบริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่อยู่
เพื่อให้บริการแก่ผู้เช่าทั้งในด้านงานซ่อมบำรุง ดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยใน
โครงการฯ รวมถึงการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเยี่ยมชมโครงการ
3. สาขาที่ 2-36 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จะ
เป็นอาคารทั้งหมดในโครงการฯ ที่มีไว้ให้บุคคลอื่นเช่าเพื่อดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ ของผู้เช่าแต่ละ
อาคาร โดยไม่มีพนักงานของบริษัทฯ และไม่มีการดำเนินการใด ๆ ของบริษัทในอาคารดังกล่าว เหตุที่
แจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มอาคารดังกล่าวเป็นสถานประกอบการ เนื่องจากได้
รับทราบว่าหากต้องการนำภาษีซื้อของค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ต้องระบุที่อยู่
บนใบกำกับภาษีตามสถานที่ติดตั้งมิเตอร์จริงของแต่ละอาคารมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องแจ้ง
เพิ่มสถานประกอบการ
บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน ณ สถานประกอบการ
สำนักงานใหญ่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2535
บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. อาคารให้เช่าที่ได้จดแจ้งเป็นสถานประกอบการสาขาที่ 2-36 แล้ว เข้าลักษณะเป็น
สถานประกอบการที่จะต้องแจ้งเพิ่มเป็นสถานประกอบการตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่ใช่
สถานประกอบการ ถ้าบริษัทฯ ขอลดสาขาดังกล่าวแล้ว ใบกำกับภาษีซื้อค่าสาธารณูปโภคที่ระบุเลขที่ของ
อาคารให้เช่าดังกล่าว จะสามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของ
สำนักงานใหญ่ได้หรือไม่
2. บริษัทฯ ยังคงจำเป็นต้องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อ ขอเพิ่ม
สถานประกอบการ (สาขา) ตามแบบ ภ.พ.09 สำหรับอาคารให้เช่าที่จะสร้างเพิ่มขึ้นใหม่หรือไม่ และ
ใบกำกับภาษีซื้อค่าสาธารณูปโภคที่เกิดขึ้นโดยระบุเลขที่ของอาคารให้เช่า จะสามารถนำมาหักออกจาก
ภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. อาคารให้เช่าของบริษัทฯ ที่มีไว้ให้ผู้อื่นเช่า ไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการของ
บริษัทฯ ตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อขอเพิ่มสถานประกอบการ (สาขา) แต่อย่างใด
2. กรณีที่บริษัทฯ ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับอาคารให้เช่า ถนน
พหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพิ่มเป็นสถานประกอบการสาขาที่ 2-36
แล้วนั้น จึงขอให้บริษัทฯ ไปดำเนินการยื่นแบบแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.09)
ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ตั้งอยู่ เพื่อขอยกเลิกการจดแจ้งเป็น
สถานประกอบการของสาขาที่ 2-36 ต่อไป
3. กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซื้อสำหรับค่าสาธารณูปโภคของอาคารให้เช่า ซึ่งระบุชื่อ
บริษัทฯ ถูกต้องแต่ระบุที่อยู่ตามเลขที่ของอาคารให้เช่าซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ บริษัทฯ
มีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ หรือเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการอื่นซึ่งจ่ายค่าสินค้าหรือ
ค่าบริการสาธารณูปโภคได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 15 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์
การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็น
แบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542
เลขตู้: 63/29677
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.rd.go.th/publish/3568.0.html
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 86/2542
เรื่อง      หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป

ข้อ 15  กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง จะต้องจัดทำใบกำกับภาษีเป็นรายสถานประกอบการ
                กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีการดำเนินงาน ณ สถานที่อื่นซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย ให้จัดทำใบกำกับภาษีระบุที่อยู่ของสถานประกอบการซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่หรือสถานประกอบการแห่งอื่นที่ดำเนินงาน ไม่ใช่ที่อยู่ตามสถานที่ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ
                กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคสอง ได้รับใบกำกับภาษีระบุชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกต้อง แต่ระบุที่อยู่ตามสถานที่ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ หรือเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งอื่นซึ่งจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการ
                ตัวอย่าง
                        (1) บริษัท ก.จำกัด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เขตพญาไท ประกอบกิจการให้เช่าอาคารสำนักงานซึ่งตั้งอยู่เขตบางพลัด บริษัทฯไม่ได้ใช้พื้นที่ของอาคารที่ให้เช่าเป็นสถานประกอบการ แต่บริษัทฯให้บริการสาธารณูปโภคแก่ผู้เช่า บริษัทฯขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ณ อาคารที่ให้เช่า รัฐวิสาหกิจจัดทำใบกำกับภาษีในนามของบริษัทฯ แต่ระบุที่อยู่ตามอาคารที่ให้เช่า บริษัทฯมีสิทธินำใบกำกับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ได้ เมื่อบริษัทฯเรียกเก็บค่าบริการและภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้เช่า บริษัทฯต้องจัดทำใบกำกับภาษีโดยระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่
                        (2) บริษัท ข.จำกัด ประกอบกิจการผลิตปลากระป๋อง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เขตบางซื่อ มีสำนักงานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง บริษัทฯก่อสร้างโรงงานที่จังหวัดระยอง โดยมอบหมายให้สำนักงานที่จังหวัดระยองดำเนินงานด้านการก่อสร้างและจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการก่อสร้าง บริษัทฯขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา ณ สถานที่ก่อสร้าง รัฐวิสาหกิจจัดทำใบกำกับภาษีในนามของบริษัทฯ แต่ระบุที่อยู่ ณ สถานที่ก่อสร้าง บริษัทฯมีสิทธินำใบกำกับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานที่จังหวัดระยองได้
                        (3) บริษัท ก.จำกัด เช่าสถานที่แห่งหนึ่งเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าซึ่งต้องมีกระแสไฟฟ้าส่องป้าย บริษัทฯขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ณ สถานที่เช่า รัฐวิสาหกิจจัดทำใบกำกับภาษีในนามของบริษัทฯ แต่ระบุที่อยู่ตามสถานที่เช่า บริษัทฯมีสิทธินำใบกำกับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ได้

                ข้อ 16....


















วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีบริการซ่อมและค่าอะไหล่

เลขที่หนังสือ: กค 0811/7660
วันที่: 2 สิงหาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการซ่อมรถยนต์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย และมีพนักงานขายของบริษัทฯ เอง
บริษัทฯ มีปัญหาเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
1. กรณีค่าซ่อมรถ พนักงานขายของบริษัทฯ ได้นำรถยนต์ของบริษัทฯ เข้าซ่อมที่ ต่างจังหวัด
ตามศูนย์บริการของอีซูซุและโตโยต้า เมื่อซ่อมแล้วทางศูนย์บริการออกบิลค่าซ่อมและ ค่าอะไหล่แยก
ออกจากกันแต่เป็นชื่อบริษัทเดียวกัน บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากบิลยอดไหน อย่างไร
2. จากกรณีข้อ 1 ถ้าศูนย์บริการคิดแต่ค่าอะไหล่อย่างเดียว ไม่มีค่าแรง จะต้องหักภาษี ณ
ที่จ่าย อย่างไร
แนววินิจฉัย: 1. การที่บริษัทฯ ได้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่ศูนย์บริการ O และ G ในต่างจังหวัด เมื่อซ่อมแล้ว
ศูนย์บริการได้ออกบิลค่าแรงและค่าอะไหล่แยกออกจากกัน แต่เป็นชื่อบริษัทเดียวกัน กรณีนี้ถือได้ว่า
ศูนย์บริการผู้รับจ้างประกอบกิจการรับจ้างซ่อมรถยนต์ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ เมื่อ
ศูนย์บริการฯ เป็นผู้จัดหาอะไหล่เพื่อใช้สำหรับการซ่อมรถยนต์เอง รายรับของศูนย์บริการฯ จึงต้อง
รวมทั้งค่าแรงและค่าอะไหล่
เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการซ่อมรถยนต์ให้แก่ศูนย์บริการฯ บริษัทฯ จึงมี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของยอดเงินที่จ่ายทั้งที่เป็นค่าแรงและค่าอะไหล่ 
ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตาม
มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2530
2. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถ้าศูนย์บริการฯ เรียกเก็บค่าอะไหล่อย่างเดียว โดยไม่มี
การเรียกเก็บค่าแรงด้วย บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของ
ยอดเงินที่จ่ายทั้งหมด
ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26
กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้: 64/30743
-
Cr : http://www.rd.go.th/publish/25352.0.html


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เลขที่หนังสือ: กค 0706/6476 
วันที่: 2 สิงหาคม 2549 
เรื่อง:        การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการซ่อมรถยกสินค้า
ข้อกฎหมาย:       มาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:       การประกอบกิจการให้บริการซ่อมรถยกสินค้าและขายอะไหล่รถยกสินค้า ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้
       1. กรณีการให้บริการซ่อมรถยกสินค้าโดยมีค่าบริการค่าแรงจำนวน 500 บาท ค่าอะไหล่จำนวน 1,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 105 บาท รวมจำนวน 1,605 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่ จ่าย หรือไม่ อย่างไร
       2. กรณีการให้บริการตรวจสภาพรถยกสินค้าโดยมีค่าอะไหล่จำนวน 1,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 70 บาท รวมจำนวน 1,070 บาท โดยไม่คิดค่าบริการแรงงาน ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากมูลค่าการให้บริการแรงงาน หรือไม
แนววินิจฉัย:       การให้บริการซ่อมรถยกสินค้าและการให้บริการตรวจสภาพรถยกสินค้าตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามสัญญารับจ้างทำของซึ่งมุ่งผลสำเร็จของงานโดยไม่สามารถแยกค่าอะไหล่กับค่าแรงงานออกจากกัน ดังนั้น หากผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่ จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
เลขตู้:69/34395

Cr : http://www.rd.go.th/publish/32689.0.html

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------