วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ภาษีของขวัญ งานเลี้ยง สัมมนา

ภาษีของขวัญ งานเลี้ยง สัมมนา | เดลินิวส์

กรณีบริษัทฯ มีประเพณีประจำปี จัดทำบุญเลี้ยงพระในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ และทำบุญเปิดกิจการใหม่ โดยงานบุญดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ 

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2557 เวลา 2:15 น.

ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้มีการจัดกิจการต่าง ๆ ขึ้น

เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าว มีปัญหาว่า ในทางภาษีอากร จะนำรายการรายจ่ายที่เกี่ยวข้องไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากรได้หรือไม่เพียงใดนั้น ขอนำแนวคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากรที่เคยตอบไว้ มาเรียบเรียงเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของท่านที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้ครับ

กรณีบริษัทฯ มีประเพณีประจำปี จัดทำบุญเลี้ยงพระในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ และทำบุญเปิดกิจการใหม่ โดยงานบุญดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานของบริษัทฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 ถึงปีปัจจุบัน เช่นนี้ รายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโดยตรง บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

นอกจากนี้ ในส่วนที่บริษัทฯ ทำบุญเปิดกิจการใหม่ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/1131 วันที่ 6 มีนาคม 2557)

กรณีในช่วงเทศกาลปีใหม่ ลูกค้าบริษัทฯ มีการจัดงานเลี้ยงพนักงานตามประเพณี จึงได้ทำหนังสือขอการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อช่วยในการจัดงานดังกล่าว ซึ่งบริษัทฯ ได้ตอบตกลงพร้อมทั้งส่งเงินสนับสนุนจำนวน 20,000 บาท เช่นนี้ รายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการค้าของบริษัทฯโดยเฉพาะ จึงนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/5823 วันที่ 13 มิถุนายน 2550)

ภาษีซื้อสำหรับค่าเนกไท ไวน์ เป็นค่าตอบแทนให้วิทยากร เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงสามารถนำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/พ./12205 วันที่ 4 ธันวาคม 2546)

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงานให้ของเยี่ยมพนักงานผู้เจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปการเลี้ยงอาหารและจับของรางวัลแก่พนักงานในวันปีใหม่ หากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับสวัสดิการที่บริษัทฯ ให้แก่พนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ และมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/9052 วันที่ 6 กันยายน 2550)“


อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/286027

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลขที่หนังสือ
: 0702/1131
วันที่
: 6 มีนาคม 2557
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินทำบุญตามประเพณี
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
          บริษัทฯ มีประเพณีประจำปี จัดทำบุญเลี้ยงพระในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ และทำบุญเปิดกิจการใหม่ โดยงานบุญดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานของบริษัทฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2555 ถึงปีปัจจุบัน บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย
          1. กรณีการทำบุญประจำปีตามประเพณี หากบริษัทฯ มีระเบียบเกี่ยวกับการจัดงานทำบุญประจำปีตามประเพณีดังกล่าว ที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปในบริษัทฯ โดยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานบริษัทฯ รายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโดยตรง บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร 
          2. กรณีบริษัทฯ ทำบุญเปิดกิจการใหม่ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้
:77/38895

เลขที่หนังสือ
: กค 0706/5823
วันที่
: 13 มิถุนายน 2550
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจ่ายเงินสนับสนุนจัดงานปีใหม่ให้แก่บริษัทลูกค้า
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
:         บริษัทฯ แจ้งว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ลูกค้าบริษัทฯ จะจัดงานเลี้ยงพนักงานตามประเพณี ลูกค้าของบริษัทฯ จึงได้ทำหนังสือขอการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อช่วยในการจัดงานดังกล่าว ซึ่งบริษัทฯ ได้ตอบตกลงพร้อมทั้งส่งเงินสนับสนุนจำนวน 20,000 บาท บริษัทฯ จึงขอทราบว่า เงินสนับสนุนในกรณีนี้ บริษัทฯ สามารถถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
:         กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่ลูกค้าเพื่อจัดงานปีใหม่ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการค้าของบริษัทฯโดยเฉพาะ จึงนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ(13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 70/35027
เลขที่หนังสือ
: กค 0706/พ./12205
วันที่
: 4 ธันวาคม 2546
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการประชุมสัมมนา
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 82/3
ข้อหารือ
: หอการค้าฯ เป็นองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 
2509
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรม การลงทุนและเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไประหว่าง 
ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ส่งเสริมสัมพันธ์ภาพและอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกหอการค้าฯ มี 
รายได้จากการเก็บค่าสมาชิกแรกเข้า ค่าบำรุงสมาชิกรายเดือน ค่าส่งหนังสือที่จัดพิมพ์ไปต่างประเทศ 
ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเช่าห้องประชุม ค่าขายหนังสือและเงินบริจาค รายได้ดังกล่าวไม่รวมค่าขายหนังสือ 
และเงินบริจาค หอการค้าฯ ได้นำไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ปกติในการดำเนินงานหอการค้าฯ จะจัดประชุม 
สัมมนาของสมาชิก ณ ห้องประชุมของหอการค้าฯ โดยเชิญวิทยากรมาบรรยาย จัดเตรียมเอกสาร 
ประกอบการประชุม บริการน้ำชา กาแฟ และอาหารกลางวันแก่สมาชิกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย กรณีมีสมาชิก 
เข้าประชุมเป็นจำนวนมากหอการค้าฯ จะต้องใช้โรงแรมเป็นสถานที่ประชุมสัมมนา โรงแรมจะเรียกเก็บ 
ค่าใช้บริการห้องประชุม ค่าน้ำชา กาแฟ และค่าอาหาร จึงขอทราบว่า 
1.
กรณีจัดประชุมสัมมนาสมาชิก ณ หอการค้าฯ ภาษีซื้อสำหรับค่าอาหารกลางวันที่สั่งมาจาก 
ร้านอาหารเพื่อบริการสมาชิกในการประชุม หอการค้าฯ จะนำไปหักเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่ 
2.
กรณีจัดประชุมสัมมนาสมาชิกที่โรงแรม ภาษีซื้อสำหรับค่าห้องประชุม ค่าน้ำชา กาแฟ และ 
ค่าอาหารที่โรงแรมเรียกเก็บ หอการค้าฯ จะนำไปหักเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่ค่าตอบแทนวิทยากร ไม่ได้ 
จ่ายให้เป็นเงินสด แต่ได้มอบเป็นของขวัญเช่นบัตรกำนัลจากห้างสรรพสินค้า เน็คไท ไวน์ ค่าใช้จ่าย 
ดังกล่าวจะนำไปหักเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. หอการค้าฯ ให้ความรู้ ข่าวสารแก่สมาชิกโดยหอการค้าฯ ได้รับค่าตอบแทนในรูปของค่า 
สมาชิกแรกเข้า ค่าบำรุง ค่าส่งหนังสือที่จัดพิมพ์ไปต่างประเทศ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเช่าห้องประชุม เข้า 
ลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสีย 
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นภาษีซื้อที่จ่ายไปในการจัดสัมมนาแก่ 
สมาชิก เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการไม่ต้องห้ามนำมาหักใน 
การคำนวณภาษีตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร หอการค้าฯ จึงนำภาษีซื้อไปหักใน 
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร 
2.
จ่ายบัตรกำนัลของห้างสรรพสินค้าเป็นค่าตอบแทนให้วิทยากร ถือได้ว่า จ่ายเงินสดตาม 
จำนวนมูลค่าในบัตรกำนัล บัตรกำนัลจึงไม่เป็นสินค้าหรือบริการตามมาตรา 77/1(9) หรือ (10) แห่ง 
ประมวลรัษฎากร จึงไม่มีภาษีซื้อที่หอการค้าฯ จะนำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 
3.
ซื้อเน็คไท ไวน์ เป็นค่าตอบแทนให้วิทยากร ภาษีซื้อสำหรับการซื้อเน็คไท ไวน์ เข้า 
ลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษี ตาม 
มาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร หอการค้าฯ จึงนำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 
ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 66/32743

เลขที่หนังสือ
: กค 0706/9052
ลงวันที่
: 6 กันยายน 2550
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเครดิตภาษีซื้อของค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ
มาตรา
: มาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
        บริษัทฯ หารือกรณีค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ดังต่อไปนี้ 
        
บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
        1.
บริษัทฯ ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงาน
        2.
บริษัทฯ ให้ของเยี่ยมไข้เป็นสวัสดิการกับพนักงานในกรณีพนักงานเจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
        3.
บริษัทฯ เลี้ยงอาหารและจับของรางวัลเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานในวันปีใหม่
แนววินิจฉัย
        บริษัทฯ ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงานให้ของเยี่ยมพนักงานผู้เจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปการเลี้ยงอาหารและจับของรางวัลแก่พนักงานในวันปีใหม่ หากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับสวัสดิการที่บริษัทฯให้แก่พนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ และมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนย่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการบริษัทฯมีสิทธินำภาษีซื้อมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 70/35269







0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น