วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 62)
เรื่อง    กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

---------------------------------------------

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2521 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายดังต่อไปนี้

                ข้อ 1  ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 20) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2526

                “ข้อ 2  หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สองฉบับมีข้อความตรงกันนั้น อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีเกี่ยกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 131 ใช้บังคับสำหรับการเหมาจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป)
                 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับดังนี้
                      (1) ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
                      (2) ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน”
                “ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วแต่ชำรุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และมีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 146) ใช้บังคับ 6 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)
                หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำดับของเล่มก็ได้
                การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)
                “รายการของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง สำหรับรายการประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้
                ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุจำนวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 121) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป)

                “ข้อ 3  หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 2 ต้องทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)

                ข้อ 4  ผู้ใดประสงค์จะทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวในข้อ 2 และข้อ 3 ต้องยื่นคำขออนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้ปฏิบัติตามนั้นได้

                ข้อ 5  การจ่ายเงินตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่จดแจ้งการหักภาษีไว้ในฎีกาเบิกเงินตามมาตรา 53 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของทางราชการแล้ว ให้ยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามข้อ 2

                ข้อ 6  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2539 เป็นต้นไป เว้นแต่กรณีที่ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามแบบที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2539

ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539

ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
อธิบดีกรมสรรพากร


-----------------------------------------------------------------------------------------------
เลขที่หนังสือ: กค 0706/4319
วันที่: 25 เมษายน 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการประทับตราบริษัทในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:         บริษัทที่นาง ก. ทำงานอยู่ได้มีการตกลงว่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของกับบุคคลต่างๆ ทั้งจากบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในการจ่ายเงินค่าจ้าง บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนมาก จึงขอทราบว่า การพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ บริษัทฯ มีสิทธิใส่เครื่องหมายตราประทับของบริษัทฯ ลงในแบบฟอร์มและพิมพ์ออกจากเครื่องได้หรือไม่
แนววินิจฉัย:         การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ดังนั้น หากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิกระทำได้
เลขตู้: 70/34879
---------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณ Siriporn Sak (22 เมษายน 2558 เวลา 13:03 น.)
 ปุจฉา: เรียน อาจารย์สุเทพที่นับถือ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อ 2 (2) การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
1. กรณีใช้วิธีพิมพ์ชื่อผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย โดยมิได้เป็นการ scan ลายมือชื่อ สามารถกระทำได้หรือไม่
2. กรณีที่ไม่สามารถใช้วิธีดังกล่าว
- ผู้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย มีโทษอย่างไร
-ผู้รับหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายสามารถนำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวไปขอคืนได้หรือไม่
ขอบพระคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 7 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงลายมือชื่อในบรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่น ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำ...ไว้ดังนี้
“มาตรา 7 บรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่นซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำยื่นนั้น ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ”
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ใช้วิธีการดังต่อไปนี้
1. ลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่”
2. ประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือ
3. พิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. กรณีจะใช้วิธีพิมพ์ชื่อผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย โดยมิได้เป็นการ scan ลายมือชื่อ ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่สามารถกระทำได้
2. บทลงโทษแก่กรณีผู้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ต่อกระทงความผิด หรือต่อฉบับนั่นเอง
แม้หนังสือรับรองจะมิได้มีการลงลายมือชื่อให้ถูกต้องก็ตาม แต่ผู้มีเงินได้ที่ได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ก็ยังคงสามารถนำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวไปขอคืนได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ผู้จ่ายเงินได้ต้องได้นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้นไว้แล้วตามมาตรา 52 หรือมาตรา 53 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา : https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/925832790801031

-------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณ Orapin Orapin (12 กรกฎาคม 2558 เวลา 11:32 น. จากกรุงเทพมหานคร)
ปุจฉา: อาจารย์คะ
กรณีการลงนามในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายซึ่งส่วนใหญ่มอบให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเงิน หนูอ่านจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 62) ระบุว่า "การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษี จะใช้วิธีประทับตราลายมือชื่อด้วยตรายางหรือจะพิมพ์ลายมือชื่อด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการ scan ลายมือชื่อไว้ก็ได้" หนูเข้าใจว่าไม่ต้องประทับตรานิติบุคคลหากเป็นการมอบหมายให้ฝ่ายการเงินออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้มีอำนาจตามข้อบังคับนิติบุคคล หนูเข้าใจถูกต้องหรือไม่คะ พอดีว่าเจ้าหน้าที่ท้วงติงมาค่ะเลยทำให้หลายคนสับสนว่าที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร และหนังสือรับรองภาษีที่ได้รับมาโดยไม่มีการประทับตราจะใช้ได้หรือไม่
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์
รู้สึกขอบคุณ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539
“ข้อ 2 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สองฉบับมีข้อความตรงกันนั้น อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศนี้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับดังนี้
(1) ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
(2) ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน”
ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วแต่ชำรุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และมีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย”
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำดับของเล่มก็ได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้”
รายการของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง สำหรับรายการประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้
ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุจำนวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวรรคหนึ่งก็ได้”
อนึ่ง ตามมาตรา 7 แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงลายมือชื้อในรายการ รายงาน หรือเอกสารอื่น ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องทำยื่นไว้ดังนี้
“มาตรา 7 บรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่นซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำยื่นนั้น ให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ”
ดังนั้น การลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร นั้น ไม่ว่าจะเป็นการลงนามโดยกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หรือเป็นการมอบหมายให้ฝ่ายการเงินออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้มีอำนาจตามข้อบังคับนิติบุคคล จึงไม่ต้องประทับตรานิติบุคคลแต่อย่างใด ก็ถือเป็นการออกหนังสือรับรองการหั้กภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายที่สมบูรณ์แล้ว


-------------------------------------------------------------------------------------------------
เลขที่ :405097
เรื่อง :หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ไม่ได้ประทับตรานิติบุคคลใช้ได้
คำถาม :บริษัทได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้ออกมิได้ประทับตรานิติบุคคลทั้งๆ ที่มีตราประทับนิติบุคคล บริษัทจะนำมาใช้ได้หรือไม่
คำตอบ :สามารถใช้ได้ เนื่องจาก ตามมาตรา 7 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อในบรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่น มิได้บัญญัติให้ประทับตรานิติบุคคล ส่วนการลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้ ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)

ที่มา : http://interapp3.rd.go.th/call_center_inter/show/faq1.php?id=405097&caption=6.%20%C0%D2%C9%D5%CB%D1%A1%20%B3%20%B7%D5%E8%A8%E8%D2%C2

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบกำกับภาษี ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ที่ไม่ใช่ชื่อกิจการ

http://www.rd.go.th/publish/40628.0.html 
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./1319
วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(20) มาตรา 82/5(1) และมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัท B (บริษัทฯ) ประกอบกิจการรับจ้างดำเนินการเกี่ยวกับระบบการผลิตน้ำประปาให้แก่บริษัท P ณ โรงผลิต น้ำประปา ของ P แล้วสูบเพื่อส่งน้ำประปาไปยังสถานีจ่ายน้ำ ซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำประปาให้แก่ผู้บริโภค โดยมีระยะการผลิต ถึงปี พ.ศ. 2566 ในการดำเนินงานดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเข้าไปดำเนินงานในสถานประกอบการของ P ได้แก่ สถานีจ่ายน้ำ สถานีเพิ่มแรงดัน และโรงกรองน้ำ โดยในสัญญาว่าจ้างกำหนดให้บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเอง แต่ใบกำกับ ภาษีค่าไฟฟ้าระบุชื่อ ที่อยู่ของ P ซึ่งเป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า บริษัทฯ จึงมีความประสงค์จะขอจดเพิ่มสาขาตามสถานที่มิเตอร์ ไฟฟ้าติดตั้งอยู่ เพื่อบริษัทฯ จะนำใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้ามาใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทฯ จึงขอหารือ ดังนี้
          1. บริษัทฯ สามารถขอจดเพิ่มสาขาตามสถานที่ที่ได้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าได้หรือไม่
          2. หากดำเนินการตาม 1. ไม่ได้ บริษัทฯ จะขอเพิ่มชื่อบริษัทฯ ในใบกำกับภาษีของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (การไฟฟ้าฯ) แต่ที่อยู่ยังคงเป็นที่อยู่ตามสถานที่ตั้งของมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อที่บริษัทฯ สามารถนำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีตาม 1. เนื่องจากบริษัทฯ ใช้สถานประกอบการของผู้ว่าจ้างเพื่อให้บริการตามสัญญาที่บริษัทฯ มีต่อผู้ว่าจ้างเท่านั้น บริษัทฯ มิได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเพื่อประกอบกิจการของตนเองเป็นการทั่วไป ดังนั้น สถานีจ่ายน้ำ สถานีเพิ่มแรงดันและโรงกรองน้ำ ที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า จึงไม่ใช่สถานประกอบการของบริษัทฯ ตามมาตรา 77/1 (20) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/7 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีตาม 2. หากบริษัทฯ เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฯ เองโดยตรงแต่ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าระบุชื่อ ที่อยู่ของ P บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว มาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 และ มาตรา 82/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากบริษัทฯ ติดต่อกับการไฟฟ้าฯ เพื่อขอเพิ่มชื่อของบริษัทฯ ลงในใบกำกับภาษี โดยเพิ่มเติม ข้อความว่า "จ่ายชำระค่าบริการโดย บริษัท B" ลงไปด้วย บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
เลขตู้: 72/36421
----------------------------------------------------------------------------

http://www.taxguruthai.com/webboard/topic/178/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A1vat%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B0
ค่าน้ำประปา กรณีตึกเช่า เคลมVATได้หรือไม่คะไปเช่าตึกเพื่อประกอบกิจการ และไปยื่นเปลี่ยนชื่อกับการประปาเพื่อเปลี่ยนชื่อในใบแจ้งหนี้ใบกำกับภาษี แต่ทางการประปาแจ้งว่าไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ ทำได้เพียง วงเล็บชื่อบริษัทได้ด้านหลังชื่อบุคคลเจ้าของเดิมเท่านั้น หากบิลออกมาในรูปแบบนี้สามารถเคลมVATได้หรือไม่คะ

เรียน คุณ Account_nre 

กรณีเช่าอาคารเพื่อประกอบกิจการ และไปยื่นเปลี่ยนชื่อกับการประปาเพื่อเปลี่ยนชื่อในใบแจ้งหนี้ใบกำกับภาษี แต่ทางการประปาแจ้งว่าไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ ทำได้เพียง วงเล็บชื่อบริษัทได้ด้านหลังชื่อบุคคลเจ้าของเดิมเท่านั้น เช่นนี้ ใบกำกับภาษีที่การประปาออกให้ดังกล่าว สามารถนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีไปเดรดิตหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ 

ตามข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 125/2546 ได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีผู้เช่าอาคารเป็นผู้จ่ายค่าบริการ ดังนี้
"ข้อ 4 กรณีผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์เป็นผู้ประกอบกิจการให้เช่าอาคารและให้บริการโทรศัพท์ ได้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระบบโทรศัพท์ธรรมดากับผู้ให้บริการโทรศัพท์ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์ออกใบแจ้งหนี้ในนามของผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์ซึ่งเป็น ผู้ให้เช่าอาคาร หากผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์จ่ายค่าบริการตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์ ตามมาตรา 86 และมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุชื่อผู้ทำสัญญาใช้ บริการโทรศัพท์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าอาคารเป็นผู้รับบริการตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากผู้ให้บริการโทรศัพท์ โดยออกหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์
กรณีผู้เช่าอาคารเป็นผู้จ่ายค่าบริการตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีให้แก่ผู้เช่าอาคารตามมาตรา 86 และมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุชื่อผู้ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าอาคารเป็นผู้รับบริการตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร และเพิ่มเติม ข้อความว่า “จ่ายค่าบริการโดยผู้เช่าอาคารคือ” หรือข้อความที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่ง ผู้เช่าอาคารมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีผู้เช่าอาคารเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้เช่าอาคารมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ โดยออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของผู้เช่าอาคารให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์
ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับในกรณีผู้เช่าอาคารได้ให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอาคารและผู้เช่าช่วงอาคารเป็นผู้จ่ายค่าบริการตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ด้วย"
ตอบเมื่อ 6 ต.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ







 

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าธรรมเนียมของร้านค้ารับบัตรเครดิต

เลขที่หนังสือ: กค 0811/10958
วันที่: 20 พฤศจิกายน 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าธรรมเนียมของร้านค้ารับบัตรเครดิต
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544, มาตรา 50 ทวิ วรรคสาม, มาตรา 17, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4)ฯ, มาตรา 60
ข้อหารือ: หารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของค่าธรรมเนียมร้านค้ารับ
บัตรเครดิต ตามคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ดังนี้
1. ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตที่ให้บริการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิตจะจ่าย
เงินให้กับร้านค้าพร้อมทั้งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากร้านค้า ซึ่งธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว และนำเงินค่าธรรมเนียมสุทธิหลังจากหักภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
เข้าบัญชีธนาคารของร้านค้า และออกใบกำกับภาษีให้กับร้านค้า ทำให้ร้านค้าไม่สามารถหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย สำหรับค่าธรรมเนียมได้ในทันทีที่จ่าย แต่ร้านค้าจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้
กับธนาคารและบริษัทบัตรเครดิตในภายหลัง ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวไม่ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติของ
กรมสรรพากรตามคำชี้แจงกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2544 เนื่องจากร้านค้าผู้จ่ายเงิน
ค่าธรรมเนียมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการหักเงินจากบัญชีธนาคารของผู้จ่ายเงิน
โดยมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตผู้ถูกหักภาษี ณ
ที่จ่าย ในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ระบุวัน
เดือน หรือปีภาษีที่จ่ายเงินได้ เป็นวันเดียวกันกับวันที่มีการหักเงินจากบัญชีธนาคารของผู้จ่ายเงิน
2. กรณีร้านค้าแต่งตั้งให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นตัวแทนเพื่อ
ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนร้านค้า แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรตามคำชี้แจงกรมสรรพากรฯ
ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2544 กำหนดให้ต้องมีการจัดทำสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการ
แทนเป็นลายลักษณ์อักษร และธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของร้านค้าเป็นรายฉบับแต่ละรายร้านค้า พร้อมทั้งส่งมอบ
สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 และใบเสร็จรับเงินของ
กรมสรรพากรให้กับร้านค้าด้วย ชมรมฯ มีความเห็นว่า กรณีให้ร้านค้าและธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิต
ทำสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์อักษร จะมีความยุ่งยากในทาง
ปฏิบัติเป็นอย่างมากและไม่สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนทุกร้านค้า เนื่องจากปัจจุบันมีร้านค้าซึ่งรับ
บัตรเครดิตมากกว่าหนึ่งแสนร้าน และแต่ละร้านค้าก็รับบัตรเครดิตของหลายแห่ง นอกจากนี้ธนาคารหรือ
บริษัทบัตรเครดิตไม่อยู่ในวิสัยจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นรายฉบับแต่ละรายผู้จ่ายเงิน
และไม่อยู่ในวิสัยที่จะยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามของผู้จ่ายเงินเป็นรายฉบับแต่ละราย
ผู้จ่ายเงิน จึงขอให้กรมสรรพากรอนุมัติให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตไม่ต้องทำสัญญาการแต่งตั้งตัวแทน
เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นรายฉบับแต่ละรายผู้จ่ายเงิน
และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.53 เพียง 1 ฉบับ ในนามของธนาคารหรือ
บริษัทบัตรเครดิตแต่ระบุว่าในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงิน โดยมีรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่ายของร้านค้าแนบแบบ ภ.ง.ด.53 ด้วย และให้ใช้เอกสารรายละเอียดดังกล่าวเป็นใบต่อของแบบ
ภ.ง.ด.53 ซึ่งสามารถจัดทำเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
แนววินิจฉัย: 1. กรณีร้านค้าซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้
บัตรเครดิตให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิต โดยเป็นการจ่ายผ่านระบบการหักเงินจากบัญชีธนาคาร
ของผู้จ่ายเงิน ถือเป็นการจ่ายค่าบริการที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร
ร้านค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.
4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 และร้านค้ามีหน้าที่ต้องออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในทันที
ทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไรก็ดี
เนื่องจากร้านค้ามีรายการขายสินค้าและให้บริการด้วยบัตรเครดิตทุกวัน ทำให้ร้านค้าไม่สามารถหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของร้านค้า จึงผ่อนผันให้ร้านค้า
ซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่าย
ค่าธรรมเนียมในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1
ครั้งต่อเดือน แต่ร้านค้ายังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ ทั้งนี้ ตาม
มาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. ในกรณีร้านค้าผู้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมมีความประสงค์แต่งตั้งให้ธนาคารหรือบริษัท
บัตรเครดิตผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทน ผู้จ่าย
เงิน พร้อมทั้งยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงิน ก็
สามารถกระทำได้ โดยจะต้องจัดทำสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็น
ลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตซึ่งเป็นตัวแทนจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายในนามของร้านค้า และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของ ร้านค้า หากธนาคาร
หรือบริษัทบัตรเครดิตรายหนึ่งรายใดได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทน
ร้านค้าหลาย ๆ ร้านค้า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็น
รายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงิน และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของร้านค้าเป็นรายฉบับ
แต่ละรายร้านค้าด้วย
อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีร้านค้าที่รับบัตรเครดิตเป็นจำนวนมาก และแต่ละ
ร้านค้าก็รับบัตรเครดิตของธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตหลายแห่ง จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำสัญญาการตั้งตัว
แทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่อยู่ในวิสัยจะออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของร้านค้าเป็นรายฉบับทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน และไม่อยู่ใน
วิสัยจะยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามของร้านค้าเป็นรายฉบับ จึงให้ธนาคารและบริษัท
บัตรเครดิตดำเนินการดังนี้
2.1 กรณีธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตได้มีหนังสือแจ้งไปยังร้านค้าซึ่งเป็นสมาชิกอยู่เดิมโดยมี
สาระสำคัญว่า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะเป็นผู้ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายของค่าธรรมเนียม
ร้านค้ารับบัตรเครดิตแทน ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทน และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่ายแทน โดยกำหนดระยะเวลาให้ร้านค้าตอบรับ เมื่อร้านค้า ตอบรับแล้ว ถือว่าหนังสือแจ้งเป็น
ข้อตกลงแต่งตั้งให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตเป็นตัวแทนแล้ว แต่หากเป็นร้านค้าที่เป็นสมาชิกใหม่จะ
ต้องมีข้อกำหนดการแต่งตั้งตัวแทนอย่างชัดเจน
2.2 กรณีธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับค่าธรรมเนียมแทน
ร้านค้าแล้ว ผ่อนผันให้ร้านค้าไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียม
ให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งทำให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงิน แต่ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตต้องจัดทำรายละเอียดรายการ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งมีรายการตามเอกสารที่ชมรมฯ ส่งไปประกอบการพิจารณาของกรมสรรพากร
เพื่อเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตยังคงมีหน้าที่ต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้
2.3 เพื่อเป็นการรับรองว่าธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย แทนร้านค้าแล้ว ให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตระบุข้อความเพิ่มเติมในใบกำกับภาษีของ
ค่าธรรมเนียมมีสาระสำคัญว่า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ
ค่าธรรมเนียมในอัตรา 3% เป็นจำนวน ......บาท แทนร้านค้าแล้ว และจะดำเนินการนำส่งภาษี
ดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะต้องจัดให้มี
การ SCAN หรือพิมพ์ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
2.4 ให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.53
โดยระบุในช่องผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่าย
เงินในใบแนบ ภ.ง.ด.53 พร้อมทั้งแนบรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งระบุชื่อผู้จ่ายเงิน
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้จ่าย จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หัก และให้ถือว่าเอกสาร
รายละเอียดดังกล่าวเป็นใบต่อแบบ ภ.ง.ด.53 ด้วย ซึ่งอาจจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
และให้ถือว่าเป็นบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษี ตามมาตรา 17 แห่ง
ประมวลรัษฎากร และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่
4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม
พ.ศ. 2531
2.5 ให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตใช้สำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 และหลักฐานใบเสร็จรับเงิน
ของกรมสรรพากรที่รับชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีตามมาตรา 60 แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 64/31110