วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

Update!!! กฎหมายภาษีอากร


พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกําหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560

ส่งเสริมบุคคลธรรมดาให้ประกอบกิจการในรูปนิติบุคคล โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โดยมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท
มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท

มีผลให้ ...
> ยกเว้นภาษีเงินได้
> ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
> ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
> ยกเว้นอากรแสตมป์ จากการโอนทรัพย์สินชำระค่าหุ้น
> ยกเว้นภาษีเงินได้ร้อยละ 100 ของค่าจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล
   ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่อง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/012/38.PDF

นอกจากนี้ สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระค่าหุ้นนั้น มีการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด กรมที่ดินได้มีประกาศลดเหลือร้อยละ 0.01 แล้ว
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/312/1.PDF 
และ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/312/2.PDF

ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

สรุปค่าลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ปี 2559

สรุปค่าลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2559
-------------------------

(แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2559 รายการ "ช็อปช่วยชาติ")


1. ค่าลดหย่อนตัวเอง 30,000 บาท (ไม่สำคัญว่าจะอยู่ในประเทศไทยกี่วัน)

2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000 บาท ต้องจดทะเบียนสมรส และไม่มีรายได้ หรือ กรณีรวมยื่นภาษีกับเรา

3. ค่าลดหย่อนบุตรรวมถึงบุตรบุญธรรม บุตรที่ไม่ได้เรียนหนังสือ 15,000 บาท/คน บุตรที่เรียนหนังสือ (ในประเทศไทยเท่านั้น) 17,000 บาท/คน สูงสุดได้ 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี

4. ค่าเลี้ยงดู บิดา-มารดา รวมถึง บิดา-มารดา ของคู่สมรส 30,000 บาท/คน โดย บิดา-มารดา ที่นำมาใช้สิทธิ์ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท

5. ค่าเลี้ยงดูคนพิการ 60,000 บาท/คน ต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการโดยมีชื่อเราเป็นผู้ดูแลระบุไว้บนบัตร

6. เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 100,000 บาท ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุสัญญา 10 ปีขึ้นไป กรมธรรม์ที่ทำก่อน 1 มกราคม 2552 สามารถนำเบี้ยประกันทั้งจำนวนมาลดหย่อนได้ แต่กรมธรรม์ที่ทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นมา สามารถนำเฉพาะเบี้ยประกันหลัก (ไม่รวมสัญญาเพิ่มเติม) มาลดหย่อนได้เท่านั้น

7. เบี้ยประกันคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 10,000 บาท ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุสัญญา 10 ปีขึ้นไป กรมธรรม์ที่ทำก่อน 1 มกราคม 2552 สามารถนำเบี้ยประกันทั้งจำนวนมาลดหย่อนได้ แต่กรมธรรม์ที่ทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นมา สามารถนำเฉพาะเบี้ยประกันหลัก (ไม่รวมสัญญาเพิ่มเติม) มาลดหย่อนได้เท่านั้น

8. เบี้ยประกันสุขภาพ บิดา-มารดา รวมถึง บิดา-มารดา ของคู่สมรส ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (รวมเบี้ยประกันของทุกคน) ลดหย่อนได้เฉพาะเบี้ยประกันของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเท่านั้น โดย บิดา-มารดา ท่านนั้นต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ไม่จำกัดอายุ

*9. เบี้ยประกันบำนาญ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

*10. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำมาลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

*11. เงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) นำมาลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

*12. เงินสะสมในกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน นำมาลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

*13. เงินสะสมในกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) นำมาลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

*14. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

15. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

16. เงินสะสมในกองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

17. ดอกเบี้ยผ่อนบ้าน สามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผ่อนมาลดหย่อนได้ตามจริง สามารถรวมดอกเบี้ยจากการผ่อนที่มากกว่า 1 หลัง หากมีผู้กู้ร่วมให้เฉลี่ยคนละเท่าๆกัน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

18. เงินบริจาคเพื่อการศึกษาและกีฬา นำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้ที่หัก ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน แล้ว โดยสามารถค้นหารายชื่อสถานศึกษาที่สามารถใช้สิทธิ์ได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html

19. เงินบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์ ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้ที่หัก ค่าใช้จ่าย, ค่าลดหย่อน และ เงินบริจาคเพื่อการศึกษาและกีฬา แล้ว โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อ มูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศล (สถานพยาบาล สถานศึกษา สภากาชาดไทย วัดวาอาราม) ที่ใช้สิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/29157.0.html

20. ซื้อสินค้าในโครงการ "ช็อปช่วยชาติ" ลดหย่อนได้ 15,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าและบริการ (ไม่รวมค่า สุรา เบียร์ ไวน์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน ก๊าซ และค่าบริการที่จ่ายให้ผู้ประกอบการเป็นค่านำเที่ยว มัคคุเทศก์ ค่าที่พัก โรงแรม) ระหว่างวันที่ 14-31 ธันวาคม 2559 โดยนำใบกำกับภาษีมาแนบเป็นหลักฐาน
http://m.posttoday.com/biz/gov/470060

21. ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว สามารถนำใบกำกับภาษีจากการซื้อสินค้าหรือบริการในการท่องเที่ยวมาลดหย่อนได้ตามจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ

21.1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559-31 ธันวาคม 2559 ไม่เกิน 15,000 บาท

21.2) ระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2559 อีกไม่เกิน 15,000 บาท

ผู้ที่นำใบกำกับภาษีนี้มาใช้สิทธิ์ภาษีซื้อตาม ภพ.30 แล้วไม่สามารถนำมาลดหย่อนในส่วนนี้ได้

สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมักคุเทศก์ที่สามารถใช้สิทธิขอหักลดหย่อนค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/44132.0.html และ http://www.rd.go.th/publish/44131.0.html

22.  กินเที่ยวช่วงสงกรานต์ ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการใน ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก บริการท่องเที่ยว (ไม่รวม สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ) ระหว่างวันที่ 9-17 เมษายน 2559 โดยนำใบกำกับภาษีเต็มรูปมาเป็นหลักฐาน ผู้ที่นำใบกำกับภาษีนี้มาใช้สิทธิ์ภาษีซื้อตาม ภพ.30 แล้วไม่สามารถนำมาลดหย่อนในส่วนนี้ได้

23. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า OTOP ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้า OTOP ระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2559 จากร้าน OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน โดยใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปเป็นหลักฐาน ผู้ที่นำใบกำกับภาษีนี้มาใช้สิทธิ์ภาษีซื้อตาม ภพ.30 แล้วไม่สามารถนำมาลดหย่อนในส่วนนี้ได้ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการ "OTOP ประชารัฐ ช้อปช่วยชุมชน" ได้ที่ http://cddata.cdd.go.th/otoppracha/otop_tax.html

24. บ้านหลังแรก ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 120,000 บาท ซึ่งจะต้องเป็นบ้านที่ซื้อระหว่าง 13 ตุลาคม 2558-31 ธันวาคม 2559 (บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด บ้านมือสอง ฯลฯ) โดยนำ 20% ของราคาบ้านมาเฉลี่ยลดหย่อน 5 ปีเท่าๆกัน ผู้ใช้สิทธิ์จะต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านหลังใดมาก่อน หากซื้อหลายหลังในปีเดียวกันให้ใช้สิทธิ์เพียงหลังแรกที่เป็นเจ้าของเท่านั้น

* หมายเหตุ : ค่าลดหย่อนรายการที่ 9-14 รวมสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

ที่มา : พัชภัคกร สุรรัตน์