วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566

ถมดิน + ปรับปรุงที่ดิน

 คุณ Weeree Kanjanawaikoon ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” แฟนเพจ เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2556 เวลา 8:26 น. ว่า

“เรียน อาจารย์สุเทพ มีเรื่องรบกวนอยากสอบถามค่ะ บริษัทฯ จะมีการก่อสร้างที่จอดรถในโรงงาน โดยค่าใช้จ่ายประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. ค่าเก็บกวาดวัชพืช ค่าขุดร่องน้ำและวางท่อคอนกรีต
2. ค่าถมดิน หิน และลูกรัง
3. งานทำทางเดินและพื้นคอนกรีต และหลังคา
อยากสอบว่าถ้าบริษัทฯ จะถือว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นต้นทุนของโรงจอดรถ เป็นทรัพย์สินประเภทสิ่งปลูกสร้าง คิดค่าเสื่อมราคา 20 ปี จะถูกต้องหรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณ Weeree Kanjanawaikoon
เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรทั้ง 3 รายการข้างต้นนั้น ขอแยกพิจารณาเป็นแต่ละรายการดังนี้
1. ค่าเก็บกวาดวัชพืช ค่าขุดร่องน้ำและวางท่อคอนกรีต
(1) สำหรับรายจ่ายค่าเก็บกวาดวัชพืช โดยทั่วไป ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงาน มิใช่รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
(2) ส่วนค่าขุดร่องน้ำ และวางท่อคอนกรีต ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินอื่นที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งยอมให้คำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน

2. ค่าถมดิน หิน และลูกรัง อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
(1) กรณีที่เป็นการถมดินทั่วไป ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน ไม่อาจนำมาคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้
(2) กรณีที่เป็นการถมเพื่อการทำลานจอดรถในโรงงาน ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินอื่นที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งยอมให้คำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน

3. งานทำทางเดินและพื้นคอนกรีต และหลังคา ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินอื่นที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งยอมให้คำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน เนื่องจากมิได้มีสภาพเป็นอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ อาจใช้สิทธิคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน กล่าวคือ ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุน นั้นบริษัทฯ ย่อมมีสิทธิกระทำได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย
https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/photos/a.606417289409251/644139648970348/

--------------------------------------------------------------------------

คุณ GGift Kanya (11 มิถุนายน 2559 เวลา 20:50 น.)
ปุจฉา: เรียน อาจารย์สุเทพ ที่เคารพ
รบกวนสอบถามเรื่องค่าเสื่อมราคากรณีถมดินลงบนที่ดินเช่าค่ะ บริษัทฯ เช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกโดยทำสัญญาเช่า 30 ปี โดยหลังจากครบ30 ปีแล้วสัญญาระบุว่า สามารถต่ออายุสัญญาเช่าต่อไปจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิก โดย ณ วันเลิก ผู้เช่าต้องรื้อถอนหรือยกกรรมสิทธิ์ให้ผู้ให้เช่า ซึ่งขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ณ วันบอกเลิกสัญญา
คำถาม:
บริษัทผู้เช่าได้ทำการถมที่ดินเพื่อสร้างอาคาร อยากทราบค่าถมดินจะบันทึกบัญชีเป็นส่วนปรับปรุงที่ดินใช่หรือไม่ และ ต้องหักค่าเสื่อมหรือไม่และอัตราเท่าไร เนื่องจากอ่านพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) มาตรา 4 (3)แล้ว สงสัยว่าค่าถมดินถือเป็นต้นทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่าหรือไม่คะ และควรหักค่าเสื่อมด้วยอัตราร้อยละ 10 เพราะสัญญาเช่ามีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุ การเช่ากันได้ต่อ ๆ ไป ถูกต้องหรือไม่คะ รบกวนตอบข้อสงสัยด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
รายจ่ายในการถมที่ดินที่บริษั่ทฯ ได้เช่ามาโดยมีกำหนดอายุการเช่าเป็นเวลา 30 ปี และต่ออายุการเช่าต่อไปจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญา นั้น
ตามข้อเท็จจริงของบริษัทมีความแตกต่างไปจากเงื่อนไขตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 คือ ตามมาตรา 4 (3) มีข้อกำหนดว่า "กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อ ๆ ไป" นั้น หมายความว่า ต้องเป็นกรณีที่คู่สัญญาไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับอายุการเช่าใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตามข้อเท็จจริงบริษัทฯ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับอายุสัญญาเบื้องต้นไว้ที่ 30 ปี แล้วจึงค่อยต่ออายุการเช่ากันต่อๆ ไป จึงไม่เข้าตามเงื่อนในในมาตรา 4 (3) แห่งพะราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
ดังนั้น รายจ่ายค่าถมที่ ซึ่งเป็นต้นทุนสิทธิการเช่า จึงต้องคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่น้อยกว่า 30 ปี https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/1149596108424697/?locale=th_TH ----------------------------------------------------------------------------------------------
เลขที่หนังสือ: กค 0706/11981
วันที่: 3 ธันวาคม 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายค่าซ่อมโกดัง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ประกอบธุรกิจให้เช่าโกดัง จัดเก็บสินค้าจำนวน 27 ห้อง เนื่องจากโกดังแต่ละห้องทรุด เพราะลงเสาเข็มไม่พอ บริษัทฯ จึงได้ทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาให้ซ่อมแซมโดยมีการนำดินถมพื้นให้สูงขึ้นและเทคอนกรีต เพื่อปรับสภาพให้ใช้งานได้เหมือนเดิม ซึ่งผู้รับเหมาตีราคาค่าซ่อมห้องละ 196,000 บาท บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมดังกล่าว สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายในปีนั้น ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย          1. กรณีการซ่อมโกดัง เนื่องจากโกดังแต่ละห้องทรุดโดยการเทคอนกรีตให้ใช้งานได้ดังเดิมของบริษัทฯ เป็น การซ่อมแซมโกดังให้คงสภาพเดิมสามารถบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่พึงจ่ายได้ทั้งจำนวน ไม่ถือเป็น รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีค่าถมดินเพื่อปรับพื้นดินให้สูงขึ้นดินที่นำมาถมนั้นเป็นส่วนควบกับที่ดินรายจ่ายดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็น การลงทุนต้องนำมารวมกับมูลค่าที่ดิน จะถือเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้
เลขตู้: 70/35488
https://www.rd.go.th/37198.html