วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568

ใบกำกับภาษี

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.05369
วันที่: 8 มิถุนายน 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีระบุที่อยู่ไม่ตรงกับที่ได้จดทะเบียนไว้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 86/4
ข้อหารือ: 1. กรณีใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อโดยไม่ได้พิมพ์คำว่าแขวง ลงใน
ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ซึ่งไม่ตรงกับ ภ.พ.20 จะใช้เป็นภาษีซื้อในการยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 86/4 (3) ได้หรือไม่
2. กรณีใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อ พิมพ์รหัสไปรษณีย์ 10110 ลงไป
ในใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ซึ่งไม่ตรงกับ ภ.พ.20 จะใช้เป็นภาษีซื้อในการยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 86/4 (3) ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซื้อ ซึ่งระบุที่อยู่ของผู้ซื้อถูกต้อง แต่มิได้ระบุแขวงไว้
เนื่องจากรายการที่อยู่ของผู้ซื้อ ซึ่งระบุไว้ในใบกำกับภาษี สามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดแจ้งถูกต้อง ตามมาตรา 86/4 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2. รหัสไปรษณีย์ไม่ใช่รายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทฯ ได้รับ
ใบกำกับภาษีซื้อซึ่งระบุรหัสไปรษณีย์คลาดเคลื่อน บริษัทฯ จึงใช้เป็นใบกำกับภาษีซื้อได้
เลขตู้: 62/27885

 https://www.rd.go.th/23605.html

เลขที่หนังสือ: กค 0811/3013
วันที่: 19 เมษายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขออนุมัติใช้ใบกำกับภาษีที่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรพิมพ์เกิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81/5 (2), มาตรา 82/3
ข้อหารือ: บริษัทฯ ขอให้พิจารณาอนุมัติการใช้ใบกำกับภาษี กรณีโรงพิมพ์ได้พิมพ์
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในใบกำกับภาษีเกินไป 1 หมายเลข โดยบริษัทฯ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 4
สิงหาคม 2540 ถึงวันที่ 17 กันยายน 2542 เริ่มต้นใช้ตั้งแต่เล่มที่ 181 เลขที่ 09001 ถึงเล่มที่ 221
เลขที่ 11049 และบริษัทฯ ได้ยกเลิกใบกำกับภาษีเล่มที่ 221 เลขที่ 11050 ถึงเล่มที่ 230 เลขที่
11500 ในวันที่ 17 กันยายน 2542
แนววินิจฉัย: กรณีใบกำกับภาษีที่พิมพ์เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเกินไปหนึ่งหมายเลขถือเป็น
ใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
ตามมาตรา 82/5(2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา82/5(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

ผู้รับจึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจดทะเบียน
ซึ่งจัดทำใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ถูกต้องครบถ้วนเมื่อได้รับการร้องขอให้ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง ให้ดำเนินการดังนี้
(1) เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราว่า "ยกเลิก" หรือขีดฆ่า แล้วเก็บ
รวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม
(2) จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลง วัน เดือน ปี ให้ตรงกับ
วัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม และ
(3) หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่
แทนฉบับเดิมเลขที่... เล่มที่... และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของ
เดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย
ส่วนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ร้องขอให้ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำฉบับใหม่ที่
ถูกต้อง จะต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้ด้วย
เลขตู้: 63/29161

https://www.rd.go.th/23900.html


เลขที่หนังสือ: กค 0811/6268
วันที่: 21 มิถุนายน 2544
เรื่อง: การปัดเศษทศนิยมของภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
ข้อหารือ: กรมศุลกากรแจ้งว่าตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตาม
ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 238) พ.ศ. 2534 บัญญัติไว้ว่า “ให้
ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 ภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวด 4 และภาษีธุรกิจเฉพาะในหมวด 5 ของลักษณะ 2
แห่งประมวลรัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี”นั้น กรมศุลกากรจึง
หารือว่า ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมศุลกากร หากมีเศษทศนิยมเกิดขึ้น เศษของบาทควรจะปัด
เป็นหนึ่งบาท หรือควรจะยกเว้นเศษของบาทโดยตัดเศษของบาททิ้ง
แนววินิจฉัย: ผู้นำเข้าเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82 ประกอบกับมาตรา 83/8 แห่ง
ประมวลรัษฎากร จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่
ผู้นำเข้ามีหน้าที่เสีย ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ
ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 238) พ.ศ. 2534 ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงไม่ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเศษของบาทจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
เลขตู้: 64/30614

https://www.rd.go.th/25395.html